วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Business Environment


บทที่ 3 E- ENVIRONMENT

Business Environment

  • นักปราชญ์ชาวจีนนาม ซุนวูได้กล่าวไว้ในตําราพิชัยสงครามว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คํากล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกําหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการจัดการธุรกิจ การที่จะ  “ รู้เขา ” ได้นั้นจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการ “รู้เรา” ก็คือการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลําดับถัดมานั่นเอง การแข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในก่อนการลงสนาม 


  • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่ 
    • สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกําหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
    • สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External  Environment  ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)


  • คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่ 
    •  ด้านการเมืองและกฎหมาย 
    • เศรษฐกิจ
    •  สังคม 
    •  เทคโนโลย


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ

S (Strengths) จุดแข็ง 
  • เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่น มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคง ที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจําหน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ
W (Weaknesses) จุดอ่อน 


  • เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจํากัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดําเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล้องทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ
O (Opportunities) โอกาส


  • เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ ฯลฯ
T (Threats) อุปสรรค


  • เป็นปจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวรายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix




กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) 
  • เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก
กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)


  • เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและข้อจํากัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)

  • เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข


กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) 
  • เป็น การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจํากัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ


E-environment



Social Factor
  • สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคล และระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของดิน น้ํา แร่ธาตุ หรืออากาศ เช่น ภาวะโลกร้อน    ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์   สึนามิ (Tsunami) โรคระบาด 
  • การระบาดของโรคจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี 2552อย่างน้อย 51,000 ล้านบาท หรือมีผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 0.6 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความโน้มเอียงที่จะไปสู้การหดตัวที่อัตราร้อยละ 4.1 จากกรอบประมาณ การเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-5.0 ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งสิ้น



Political and Legal Factor
  • สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดย เฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุนกฎ ระเบียบที่ใช้สําหรับการค้าระหว่างประเทศ จากการสํารวจความคิดเห็นของนักธุรกิจ 400 ตัวอย่าง ในประเด็นผลกระทบต่อการทําธุรกิจ พบว่านักธุรกิจร้อยละ 17.10 มองว่าความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบเป็นอันดับแรกต่อการดําเนินธุรกิจ (เดลินิวส์, 2552) ข้อกังวลในสายตาของนักลงทุน คือ กฎ ระเบียบ นโยบายในการลงทุน มักจะเปลี่ยนแปลงตามรัฐบาลในสมัยนั้นๆ ถ้าการดําเนินธุรกิจขัดต่อกฎหมาย ธุรกิจย้อมจะมีปัญหาในการดําเนินงาน (สมชาย, 2552)


Economic Factor
  • สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic) เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สําคัญต่อการดําเนินงานขององค์กรธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้อง นํามาศึกษาหลายปัจจัย เช่น
    • ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสําคัญ เนื่องจากเป็นการชี้นําว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่ออํานาจในการบริโภคของประชากรโดยรวมในทิศทางใด ซึ่งในปี พ.ศ.2552 นี้ คาดว่า GDP ของ ประเทศ จะขยายตัวประมาณ 1.2% และในกรณีเลวร้ายอัตราการขยายตัวของ GDP  อาจลงไปที่ 0.0% คาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนจะขยายตัวในระดับต่ํา อยู่ที่ประมาณ 0.3-0.8% จาก 2.2% ในปี พ.ศ. 2551 (ข่าวสด, 2552)
    • ค่าเงินบาท ธุรกิจที่เสียประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ส่งออกที่ใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่ในทางกลับกันการแข็งค่าของค่าเงินบาทจะมีกลุ่มธุรกิจประเภทที่ต้องนําเข้าวัตถุดิบเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยสาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย เช่น การอ่อนค่าของเงินสกุลต่างประเทศ การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในประเทศไทย หรือการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย 
    • อัตราการว่างงาน ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานขึ้นในทุกประเทศ จากการรายงานของสํานักงาน สถิติแห่งชาติ พบว่า ภาวการณ์ทํางานของประชากรไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

Technological Factor
  • สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความกาวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคําสั่ง (Software)  เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนําเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจํานวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทํางาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น